วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การฝึกเล่นกีตาร์

วิธีอ่านแทป
แทป (Tab หรือ Tablature) คือ สัญลักษณ์ที่ใช้จดบันทึกเสียงทางดนตรี สำหรับเครื่องสายที่มีลักษณะคล้ายกีต้าร์ เช่น แบนโจ (Banjo) หรือ เบส (Bass) โดยแทป (Tab) นั้นได้พัฒนามาจากโน้ตดนตรีสากล แต่จะอ่านง่ายกว่า สามารถเข้าใจได้รวดเร็ว ทั้งยังบอกถึงตำแหน่งนิ้วบนคอกีต้าร์ได้ดีกว่าโน้ตดนตรีสากลอีกด้วย

แทป (Tab) มีวิธีการบันทึกได้ 2 แบบ คือ แทป (Tab) แบบมือขวา และ แทป (Tab) แบบมือซ้าย ขึ้นอยู่กับว่าต้องการให้ผู้อ่านนั้นได้รับรู้ถึงเรื่องอะไร

แทป (Tab) มือขวา บอกตำแหน่งของนิ้วมือขวาที่ใช้ดีดสายกีต้าร์ต่าง ๆ เพื่อให้ทราบว่าต้องดีดเส้นไหนบ้างหรือเกาสายกีต้าร์เส้นไหนบ้าง รูปแบบใด
แทป (Tab) มือซ้าย บอกวิธีการจับคอร์ดว่าต้องจับอย่างไรบ้าง เนื่องจากบางเพลงอาจจะต้องจับคอร์ดที่ยากกว่าปกติ หรือเป็นลูกเ่ล่นเพิ่มเติมในการเกาหรือดีดเพลงนั้น ๆ และเพลงที่เน้นการวางนิ้วมือบนคอกีต้าร์และการเคลื่อนที่ของนิ้วมือซ้าย ตามอารมณ์ของเพลงนั้น ๆ เช่น เพลงคลาสสิค เพลงบรรเลงด้วยกีต้าร์

ตัวอย่างโน้ตแทป

C D
---------------------------------------2-------------- สายที่ 1 ของกีต้าร์ หรือสายล่างสุด (เสียงแหลมสุด)
------------1-----1--------------2---------2--------- สายที่ 2 ของกีต้าร์
---------0-----0-----0--------3----3----3----3------ สายที่ 3 ของกีต้าร์
------2---------------------0------------------------- สายที่ 4 ของกีต้าร์
---3-------------------------------------------------- สายที่ 5 ของกีต้าร์
------------------------------------------------------ สายที่ 6 ของกีต้าร์ หรือสายบนสุด (เสียงทุ้มสุด)

จากตัวอย่างข้างบนการอ่านโน้ตแทปก็คือ ให้ดูจากคอร์ดด้านบนก่อนว่าเป็นคอร์ดอะไร ให้จับคอร์ดตามนั้น

จากนั้นตัวเลขที่เห็นก็คือ เฟรตหรือช่องบนคอกีต้าร์ที่ใช้นิ้วกดลงไป ซึ่งหากตัวเลขอยู่บนสายไหนก็ให้ดีดสายนั้นๆ
จากตัวอย่าง เลข 3 อยู่บนสายที่ 5 ให้กดเฟรตที่ 3 ของสายที่ 5 และดีดสายที่ 5 เป็นอันจบโน้ตตัวแรก
ตัวถัดไปเป็นเลข 2 ให้กดเฟรตที่ 2 ของสายที่ 4 และดีดสายที่ 4 ก็จะจบโน้ตตัวที่ 2 หากเป็นเลข 0 ก็คือดีดสายเปล่าๆ โดยไม่ต้องกดอะไรเลย

เป็นไงบ้างครับเพื่อนๆ คงไม่ยากสำหรับมือใหม่นะครับ ยังไงก็ลองฝึกแกะแทปจากเพลงช้าๆ แนวอคูสติคกันดูนะครับ ค่อยๆ ฝึกกันครับ ถ้าเพื่อนๆ เล่นแทปกันคล่องแล้ว เดี๋ยวผมจะหาแทปมาลงในเว็บให้เยอะๆ ครับ ส่วนการถามตอบก็ไว้ไปถามกันบนเว็บบอร์ดได้เลยนะครับ เผื่อว่าจะมีเพื่อนๆ ท่านอื่นๆ เข้ามาตอบกันครับ

วิธีการหัดเล่นกีต้าร์

ในการหัดเล่นกีต้าร์นั้นเราจะต้องรู้พื้นฐานในการจับคอร์ดเสียก่อน

ซึ่งจะจับคอร์ดได้นั้นตัองดูตามตารางคอร์ดกีต้าร์ดังนี้

บางคนอาจจะยังดูไม่เป็นสำหรับคนที่หัดเล่นใหม่ๆ แต่มัน

ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแค่หยิบกีต้าร์ขึ้นมาแล้วใช้นิ้วกด

ไปตามจุดที่อยู่บนเส้นกีต้าร์ตามรูปภาพ พอกดได้แล้วก็หมั่น

ฝึกกดอยู่บ่อยๆเพื่อที่จะเกิดการเคยชินจนสาสารถเล่นได้ในที่สุด



การหัดไล่ scale กีต้าร์

ในการเล่นกีต้าร์นั้นนอกจากจะหัดจับคอร์ดแล้วนั้นที่สำคัญก็คือ

การหัดไล่สเกลล์ซึ่งการไล่สเกลล์นั้นเป็นพื้นฐานในการลีดกีต้าร์

ที่นักลีดกีต้าร์ทั้งหลายทำกันอยู่ก็มาจากการฝึกหัดไล่สเกลล์กัน

ทั้งนั้น การไล่สเกลล์นั้นเป็นการไล่นิ้วลงไปบนตัวโน๊ตของกีต้าร์

ซึ่งจะไล่แบบไหนนั้นก็แล้วแต่ผู้เล่นจะถนัดนั่นเองดังตัวอย่างตารางสเกลล์ 


การจับคอร์ดกีต้าร์
การจับคอร์ดถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเล่นกีต้าร์เลยก็ว่าได้ ในโลกนี้มีคอร์ดอยู่มากมายมหาสาร
มีผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่าคอร์ดนั้นมีอยู่เป็นร้อยเป็นพันธ์เลยทีเดียว (โห้... ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ) ใครคิดวิธีจับแบบใหนได้ก็อาจจะเรียกเป็นคอร์ดใหม่เลยก็ได้ แต่อย่าพึ่งตกใจไปน่ะครับ คอร์ดหลักๆ นั้นมีอยู่แค่ 7 คอร์ดเท่านั้นเอง คือ A B C D E F และ G ส่วนที่เหลือนั้นก็จะเป็นพวกน้ำจิ๋มน้ำปลาทั้งนั้น

ในที่นี้ผมจะสอนวิธีการจับคอร์ดง่ายๆ และวิธีการดูคอร์ดจากรูปภาพ ซึ่งถ้าคุณรู้วิธีหล่าวนี้แล้ว คุณก็จะสามารถนำไปประยุคในการจับคอร์ดอื่นๆ ได้ เอาหละ เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ

จากรูป เป็นคอกีต้าร์ในลักษณะหันหน้าเข้าหาตัว เส้นในแนวตั้งก็คือสายกีต้านั้นเอง โดยเลข 1 ที่กำกับอยู่ข้างบนก็คือสายที่ 1 หรือสายที่เล็กที่สุด ส่วนเลขหกก็คือสายที่ใหญ่ที่สุด

เส้นในแนวนอนก็คือเส้นขั้นระหว่างเฟร็ต โดยเฟร็ตบนสุดก็คือเฟร็ตที่ 1 และถัดลงมาก็คือเฟร็ตที่ 2, 3, 4 .... ไปเรื่อยๆ

ส่วนรูปด้านขวานี้ เป็นตัวอย่างของการจับคอร์ด C ซึ่งตัวเลขในลูกกลมๆ สีแดงก็คือนิ้วมือซ้ายนั้นเอง โดยรายละเอียดมีดังนี้

1 = นิ้วชี้ 2 = นิ้วกลาง 3 = นิ้วนาง 4 = นิ้วก้อย


ตัวเลขต่างๆ หล่าวนี้ที่จริงแล้วในตารางคอร์ดทั่วๆ ไปจะไม่มีกำกับไว้ ถ้าไม่มีแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าจับคอร์ดได้ถูกต้องหรือผิด? คำตอบก็คือไม่มีใครถูกใครผิดหรอกครับ เพราะการจับนั้นไม่ตายตัว ใครถนัดแบบใหนก็จับแบบนั้น แต่บางทีการจับให้ถูกต้องนั้นก็สำคัญเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่นการจับคอร์ด G จากรูปจะเห็นว่าเราไม่จำเป็นที่จะต้องใช้นิ้วก้อย (เลข 4) ในการจับเลย เพราะนิ้วชิ้วเรายังว่างอยู่นิ หลายคนโดยเฉพาะมือใหม่ๆ ก็เลยใช้นิ้วชี้กดแทนนิ้วกลาง ส่วนนิ้วกลางก็เอาไปกดที่นิ้วนาง และนิ้วนางที่นิ้วก้อย ทำให้เราไม่ต้องใช้นิ้วก้อยเลย (ผมก็เคยจับแบบนี้มาตั้งนาน) ซึ่งดูเหมือนจะง่ายกว่าแบบแรกเยอะ เพราะมือใหม่ส่วนใหญ่จะไม่สันทัดกับการใช้นิ้วก้อยซักเท่าไหร

แต่ถ้าคุณเริ่มที่จะเล่นกีต้าร์เป็นแล้ว และคุณลองเล่นเพลงจากหนังสือเพลง คุณก็จะเจอกับคอร์ด Gsus4 ซึ่งจะต้องเปลี่ยนจากคอร์ด G ไปจับ Gsus4 (มันมักจะมาด้วยกัน) ซึ่งคุณจำเป็นมากที่จะต้องใช้นิ้วชี้ แต่นิ้วชี้คุณกลับใช้ไปแล้วซะนี่...

สรุปเลยละกันน่ะครับว่า การจับคอร์ดนั้นไม่ตายตัวเสมอไป แต่การจับให้ถูกหรือเหมาะสมก็เป็นสิ่งที่ควรทำครับ


 ภาพคอร์ดกีตาร์

การเลือกซื้อกีตาร์

เอนทรีนี้ผมจะแนะนำเรื่องการเลือกซื้อกีตาร์ครับ สมัยหนึ่งถ้ามีใครถามผมว่า จะหัดเล่นกีตาร์ จะเลือกซื้อกีตาร์อย่างไรดี สมัยนั้นผมจะตอบว่า ซื้อกีตาร์ถูกๆ เอาไปหัดเล่นก่อน เพราะกลัวว่าถ้าเกิดเปลี่ยนใจอยากเล่นเอาหล่ออย่างเดียวขี้นมา เสียดายเงิน แต่ถ้าเป็นวินาทีนี้ ผมจะแนะนำว่า ไปขอยืมกีตาร์ชาวบ้าน ให้เขาสอนจนเล่นได้ระดับนึงก่อนค่อไปซื้อ และไม่ควรเลือกซื้อกีตาร์ราคาถูกครับ เพราะอะไร ไปดูกัน

ของใช้ ไม่ใช่ของโชว์ กีตาร์ไม่ใช่น้ำเต้าหู้ จะได้ซื้อวันนี้แล้วพรุ่งนี้บูด กีตาร์ราคาถูกสมัยนี้ มีตั้งแต่ไม่กีร้อยบาท ถึงหลักพัน ถ้าคิดจะเล่นแล้วจะเสียดายอะไร แดกเหล้า เลี้ยงสาวคืนนึงๆ สองพันสามพันยังไม่เสียดาย กะอีแค่เพิ่มเงินอีหน่อยได้ของดีมาใช้ แบบไหนคุ้มกว่ากัน

กีตาร์ราคาถูก คุณภาพก็จะต่ำตามราคาลงไปด้วย อันนี้เรื่องจริง กีตาร์ราคาถูกยอดนิยมครองใจวัยรุ่นหัดเล่นกีตาร์มาหลายยุคหลายสมัยคือ JOJO ตามด้วย FUJIYAMA กีตาร์สองยี่ห้อนี้เป็นกีตาร์คุณภาพต่ำครับ ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะซื้อมาหัดเล่น

เมื่อคุณภาพต่ำ ทำให้เป็นอุปสรรคในการหัดเล่น กีตาร์คุณภาพต่ำไม่ได้หมายความว่าจะซื้อมาใช้แค่สองสามเดือนแล้วมันจะพังนะครับ คุณภาพต่ำในที่นี้หมายถึงคุณภาพเสียง และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตกีตาร์ เช่น กีตาร์ยี่ห้อโจโจ้ กีตาร์ยี่ห้อนี้คอใหญ่มาก ไม่รู้ว่าไอ้คนผลิตมันเป็นนักกล้ามรึไง ถึงได้ทำคอกีตาร์ออกมาใหญ่โตปานนี้ เมื่อคอกีตาร์ใหญ่ การวางนิ้วก็จะลำบากครับ ทำให้ไม่สามารถจับคอร์ดยากๆ ได้

กีตาร์ที่คุณภาพสูง หรือปานกลาง จะมีระดับทัชชิ่ง (ความสูงระหว่างสายกีตาร์กับฟิงเกอร์บอร์ด) ที่พอเหมาะมาให้อยู่แล้ว จึงทำให้ผู้หัดเล่นไม่จำเป็นต้องปรับทัชชิ่งเองโดยที่ไม่มีความรู้ (เสี่ยงต่อกกีตาร์มาก เดี๋ยวจะพังเอาซะ) และยังไม่ต้องทนเจ็บนี้วอีกด้วย เคยเห็นกีตาร์เก่าๆบางตัวไหมครับ ที่มันจะมีกระดาษรองตามนัท (นัทคือสะพานรองสายอยู่ตรงบอดี้หนึ่งอัน และปลายฟิงเกอร์บอร์ดหนึ่งอัน) กระดาษนั่นเกิดมาจาก หนึ่งการที่เจ้าของกีตาร์โดนสตีฟ วาย ไม่ก็จิมมี เฮนดริก เข้าสิง เล่นโซโลเป็นไฟ จนทำให้นัทสึกจึงต้องเอากระดาษมารอง สองการที่เจ้าของกีตาร์ทดลองปรับทัชชิ่งโดยไม่มีความรู้และความชำนาญ โดยการถอดนัท มาฝนกับกระดาษทราย เพื่อให้ระดับความสูงของทัชชิ่งลดลง แต่บังเอิญฝนมากไปหน่อยเสือกต่ำเกินไป เลยต้องหากระดาษมารอง จะซื้อใหม่ก็ไม่มีตังค์ ลำพังกีตาร์ตัวนี้ยังกระอักเลือด

ผู้หัดเล่นใหม่ๆ ส่วนมากจะท้อเมื่อเจอรูปคอร์ดเต็ม ที่ต้องใช้การทาบนิ้ว เช่น F จนเลิกเล่นไปในที่สุด ดังนั้นนี่คือข้อดีของทัชชิ่ง โดยทั่วไปแล้วผู้ผลิตกีตาร์คุณภาพปานกลางถึงสูง มักจะตั้งระดับทัชชิ่งไว้ไม่สูง และไม่ต่ำจนเกินไป ทั้งนี้เพราะจุดประสงค์ในการเล่น หากเล่นริทึม ระดับทัชชิ่งที่ต่ำก็จะทำให้สายไปกระทบกับฟิงเกอร์บอร์ด หรือถ้าเล่นโซโล ระดับทัชชิ่งที่สูงก้จะทำให้การสปีดนิ้วเป็นไปได้ยาก

กีตาร์คุณภาพสูงหรือปานกลาง จะมีคุณภาพเสียงที่ดีกว่า แม้ว่าจะใช้สายคุณภาพต่ำ ระดับคุณภาพของเสียงก็จะเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อย สายกีตาร์ยอดนิยมของร็อคแอนด์โรลคือ GIBSON เพราะคุณภาพดี ราคาไม่สูงจนเกินไป แถมยังแบ่งขายอีกต่างห่าก (ยังกะบุหรี่) สายกีตาร์ยี่ห้อนี้ส่วนมากผู้ที่ซื้อใช้มักจะเป็นผู้ที่เล่นกีตาร์เป็นแล้ว ดังนั้นผมจะไม่พูดถึง ผมจะพูดถึงเรื่องของสายกีตาร์เหี้ยๆ แทน หนึ่งในสายกีตาร์เหี้ยๆ คือ SUZUKI สายกีตาร์ยี่ห้อนี้ราคาถูกมาก ถูกเป็นขี้เลยก็ว่าได้ นอกจากจะถูกแล้ว ยังแข็งชิบหายอีกต่างหาก แข็งอย่างเดียวไม่พอ กระด้างด้วย ผมเคยลองเอาลวดเบอร์ศูนย์ มาใช้แทนสายสามของยี่ห้อนี้ เสียงไม่ต่างกันเท่าไร แต่เมื่อเราใช้กีตาร์คุณภาพสูง เสียงที่ได้จะเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อย

กีตาร์คุณภาพสูง หรือปานกลาง มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน สามารถเก็บไว้เป็นมรดกถึงลูกหลานได้ เพราะอุปกรณ์เครื่องดนตรี ไม่เหมือนรถยนต์ หากไม่เข้าโรงจำนำแล้ว หรือไปอยู่ในมือของผู้ที่ไม่เห็นคุณค่า ราคามีแต่จะเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา และยี่ห้อ ทั้งนี้เพราะเนื้อไม้ที่ใช้ทำกีตาร์จะแห้งลงทุกวัน และจะทำให้คุณภาพเสียงดีขี้นนั่นเอง

วิธีการเลือกซื้อกีตาร์

พาผู้รู้จริง ไปเลือกซื้อกีตาร์ด้วย  ต้องรู้จริงๆ นะครับ ไม่ใช่ว่าเห็นลูกชายข้างบ้านมันเล่นกีตาร์เป็น ก็ชวนมันไปช่วยเลือกกีตาร์ อาจจะซวยได้กีตาร์เหี้ยราคาแพงก็ได้ เพราะใครจะรู้ว่าที่มันเล่นกีตาร์มันเล่นเอาหล่ออย่างเดียวหรือเปล่า

ผู้ซื้อควรมีความรู้พื้นฐาน หรือเล่นกีตาร์เป็นบ้าง แน่นอนครับ ถ้าเล่นไม่เป็นแนะนำให้ไปยืมคนอื่นเล่นให้พอเป็นก่อน เพราะถ้าเล่นไม่เป็นก็จะลองเสียงไม่ได้ ไม่รู้ระดับทัชชิ่ง ไม่รู้ว่าคอใหญ่ไปหรือเปล่า ทีนี่พอซื้อมาแล้ว เล่นไม่ได้ ก็ใบ้แดก ของใช้เลยกลายเป็นของโชว์ไปจริงๆ

กีตาร์ตามร้านโดยมากจะไม่ตั้งสายเอาไว้พร้อมเล่น เพื่อป้องกันการคดงอของคอกีตาร์ เห็นมะบอกแล้วว่ามันจำเป็นต้องเล่นให้เป็นก่อน เพราะว่าตามร้านมันไม่ตั้งสายไว้ให้ ถ้าเราตั้งไม่เป็นจะไปให้ใครตั้งให้ เดี๋ยวเจ้าของร้านมันรู้ว่าเราไม่เป็นจะโดนหลอกเอาได้ และที่สำคัญ การตั้งสายกีตาร์นั้น เป็นศาสตร์ที่คลาสสิคอย่างนึงนะครับ หากใครเล่นกีตาร์จนชำนาญ ก็จะสามารถตั้งเสียงให้ถูกคีย์โดยใช้หูเป็นมาตรฐานได้เลย แถมการตั้งเสียงนั้นยังมีตั้งหลายวิธี เวลาไปซื้อลองศึกษาวีธีตั้งสายแบบเทพไปลอง แล้วจะหล่อมาก

อย่าด่วนใจร้อนรีบซื้อกีตาร์ ควรทดลองหลายๆ ยี่ห้อก่อน เอาที่เราพอใจที่สุด บางทีใจร้อนเกินไปก็ไม่ดี เพราะกีตาร์แต่ละยี่ห้อนั้น คุณภาพไม่ต่างกันเท่าไร ลองชั่งน้ำหนักของคุณภาพกับราคา แล้วศึกษาดูก่อน

สิ่งสำคัญเวลาเลือกซื้อกีตาร์ ไม้ที่ใช้ทำกีตาร์เป็นสิ่งแรกที่สำคัญมากครับ ไม้เเต่ละชนิดก็จะให้เสียงที่แตกต่างกันออกไป จะมีตั้งแต่ไม้เอลเดอร์ ไม้เเอช ไม้มะฮอกกานี ไม้โรสวู๊ด จนกระทั่งถึงไม้อัด แต่ไม่อัดก็จะใช้ทำกีตาร์คุณภาพต่ำๆ เท่านั้น ไม่มีโอกาสได้เสนอหน้าเข้าไปอยู่ในโรงงานกีตาร์คุณภาพสูงหรอกครับ กีตาร์ที่ทำจากไม้อัด ก็ได้แก่สองยี่ห้อที่แนะนำไปตอนต้น (แต่อย่าชะล่าใจไปเสียหมด เพราะไอ้สองยี่ห้อนั้น รุ่นที่มันผลิตมาแรกๆ เป็นกีตาร์ระดับกลางที่คุณภาพดีใช้ได้เลย ถ้าเจอขอให้ซื้อเก็บไว้ ถ้าจะขายก็มาบอกผม เดี๋ยวจะซื้อต่อ)

ปีที่ผลิตก็สำคัญ คนเล่นกีตาร์ มันก็เหมือนคนเล่นของเก่า ปีที่ผลิตยิ่งเก่า ยิ่งดี เพราะไม้แห้งจัด เสียงเพราะ กีตาร์ไม่ใช่กิ๊ก ที่จะเปลี่ยนบ่อยๆ ดังนั้นซื้อดีๆ ไปเลยดีกว่าครับ ที่สำคัญ ควรเหมาะกับกระเป๋าสตางค์ด้วย




เเถม
ยี่ห้อและประเภทของกีตาร์ที่แนะนำคร่าวๆ

ประเภทโฟล์ค
YAMAHA คุณภาพปานกลางถึงสูง ซื้อง่าย ขายคล่อง
TAKAMINE เป็นกีตาร์โฟล์คจัมโบ้ ที่ราคาไม่สูงมากนัก แต่คุณภาพไร้ที่ติ
WASHBURN คุณภาพปานกลางค่อนข้างสูง
OVATION อันนี้เป็นกีตาร์ตระกูลหลังเต่าครับ แนะนำว่าถ้าบ้านไม่รวยจริงไม่ควรซื้อมาใช้ เพราะอย่างถูกๆ ก็เหยียบครึ่งแสนเข้าไปแล้ว คุณภาพเสียงไม่ต้องพูดถึง ศิลปินล้านนาผู้ล่วงลับ จรัญ มโนเพ็ชร ใช้กีตาร์ยี่ห้อนี้ ได้คุ้มมาก

ประเภทไฟฟ้า
YAMAHA ยอดนิยมในทางโฟล์ค แต่ทางไฟฟ้าไม่นิยมเท่าไร แต่ราคาก็ไม่สูงนัก แนะนำราคาตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทขี้นไป
GIBSON กีตาร์ฮีโร นักกีตาร์ชื่อดังใช้ยี่ห้อนี้เยอะครับ ไม่ว่าจะเป็น BB KING ซึ่งตอนนี้กีตาร์รุ่นบีบีคิงของปู่ ราคานั้นหาค่าไม่ได้เเล้ว ส่วนเคิล เชงเกอร์ มือกีตาร์แห่งวงแมงป่องผยองเดชหรือสกอเปียนก็เป็นคนเดียวที่ผมคิดว่า แม่งใช้ Gibson Flying V ได้เท่ที่สุด หรือจะเป็นของไทยเรา พี่ป้อม อัสนี โชติกุล ก็ใช้ GIBSON LES PUAL STANDARD ยี่ห้อนี้ราคาตั้งแต่ สองหมื่นบาทขึ้นไป
FENDER หนึ่งในกีตาร์ฮีโร ยี่ห้อนี้หลายรุ่นหลายทรงมาก รุ่นคลาสสิคสุดก็จะเป็น รุ่น STRATOCASTER เฮียเคิร์ท โคเบนแห่งเนอร์วาน่า ก็ใช้ FENDER JAGUAR ครับ ราคาแม่งพอๆ กับกิ๊บสันแแหล่ะ
IBANEZ กีตาร์สำหรับคนที่ชอบโซโล สปีดนิ้วเร็วๆ อย่างสตีฟ วาย เฮียแก เทพจัด หกสายไม่พอ แกเล่นเจ็ดสายแล้วครับ ราคาหมื่นกว่าบาทขึ้นไป
WASHBURN นูโนแห่งเอ็กซ์ทรีมใช้กีตาร์ยี่ห้อนี้ได้เด็ดดวงมาก ราคาตั้งแต่ห้าพันขึ้นไป

                                
ปรัชญาการซื้อกีตาร์: ของดีไม่มีถูก ของถูกไำม่มีดี ของฟรีไม่มีในโลกครับ